วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พบเรื่องราวน่ารู้ และเที่ยวชมปลาการ์ตูนหลากหลายสายพันธุ์ สามารถคลิกเข้ามาชมได้ที่นี่




ปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเลสวยงามลำดับต้นๆ เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม เมื่อการเลี้ยงปลาทะเลสวยงามเริ่มขยายตัว ปลาการ์ตูนจากธรรมชาติจึงถูกจับมาขายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงและเป็นปลาที่จับได้ง่าย ปัจจุบันนี้พบว่า ประชากรของปลาการ์ตูนชนิดต่าง ๆ ได้ลดจำนวนลงอย่างมากจนเกือบเข้าภาวะวิกฤติ จึงมีการเล็งเห็นถึงความสำคัญของปลาชนิดนี้ทั้งในด้านการอนุรักษ์และคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงเริ่มศึกษาด้านการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนขึ้น
ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะมีรูปแบบสีที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งปกติจะประกอบไปด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และส่วนใหญ่จะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 1-3 แถบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของปลาการ์ตูนก็ว่าได้ นอกจากนั้นปลาที่อาศัยต่างสถานที่กันอาจมีสีที่แตกต่างกันได้เรียกว่าความผันแปรของสี (colour variation) 
ปลาการ์ตูน จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Family Pomacentridae) ปัจจุบันปลาการ์ตูนทั่วโลกที่สำรวจพบ และได้รับการจำแนกแล้วมี 30 ชนิด เป็นสกุล (genus) Amphiprion29 ชนิด และ สกุล Premnas 1 ชนิด โดยปลาการ์ตูนที่พบในน่านน้ำไทยมี 7 ชนิด
ส่วนปลาการ์ตูนที่ศูนย์ ฯ เลี้ยงและเพาะพันธุ์ มีด้วยกัน 8 ชนิด ดังนี้

ปลาการ์ตูนส้มขาว (Clown anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion ocellaris
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร




ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Tomato anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion frenatus
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร




ปลาเพอร์คูลา (Percula clownfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion percula
ลักษณะทั่วไป ลวดลายบนตัว ปลาเพอคูล่าจะมีสีดำบนลำตัวมากกว่าปลาส้มขาว และแถบสีขาวกลางตัวจะมีหลายลวดลายที่ต่างกัน หนาบ้าง บางบ้าง ซึ่งไม่เหมือนกับปลาส้มขาวที่ลายขาวข้างลำตัว จะมีลายแบบเดียวกัน


ปลาการ์ตูนดำ-ขาว(Black and White Ocellaris Clown)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion ocellaris
ลักษณะทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับปลาการ์ตูนส้มขาว และถือเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่มีการผันแปรของสี โดยส่วนที่เป็นสีส้ม หรือส้มเหลืองถูกแทนที่ด้วยสีดำ
ลัษณะลำตัวมีสีดำ มีแถบสีขาว แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบปลาชนิดนี้ได้ในถิ่นเฉพาะ คือ ทางเหนือของออสเตรเลีย


ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (Sebae anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion sebae
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลัง ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร


ปลาการ์ตูนอานม้า (Saddleback anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion polymnus
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว แถบ แถบแรกอยู่ที่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น