วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



พบเรื่องราวน่ารู้ และเที่ยวชมปลาการ์ตูนหลากหลายสายพันธุ์ สามารถคลิกเข้ามาชมได้ที่นี่




ปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเลสวยงามลำดับต้นๆ เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม เมื่อการเลี้ยงปลาทะเลสวยงามเริ่มขยายตัว ปลาการ์ตูนจากธรรมชาติจึงถูกจับมาขายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงและเป็นปลาที่จับได้ง่าย ปัจจุบันนี้พบว่า ประชากรของปลาการ์ตูนชนิดต่าง ๆ ได้ลดจำนวนลงอย่างมากจนเกือบเข้าภาวะวิกฤติ จึงมีการเล็งเห็นถึงความสำคัญของปลาชนิดนี้ทั้งในด้านการอนุรักษ์และคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงเริ่มศึกษาด้านการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนขึ้น
ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะมีรูปแบบสีที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งปกติจะประกอบไปด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และส่วนใหญ่จะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 1-3 แถบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของปลาการ์ตูนก็ว่าได้ นอกจากนั้นปลาที่อาศัยต่างสถานที่กันอาจมีสีที่แตกต่างกันได้เรียกว่าความผันแปรของสี (colour variation) 
ปลาการ์ตูน จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Family Pomacentridae) ปัจจุบันปลาการ์ตูนทั่วโลกที่สำรวจพบ และได้รับการจำแนกแล้วมี 30 ชนิด เป็นสกุล (genus) Amphiprion29 ชนิด และ สกุล Premnas 1 ชนิด โดยปลาการ์ตูนที่พบในน่านน้ำไทยมี 7 ชนิด
ส่วนปลาการ์ตูนที่ศูนย์ ฯ เลี้ยงและเพาะพันธุ์ มีด้วยกัน 8 ชนิด ดังนี้

ปลาการ์ตูนส้มขาว (Clown anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion ocellaris
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร




ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Tomato anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion frenatus
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร




ปลาเพอร์คูลา (Percula clownfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion percula
ลักษณะทั่วไป ลวดลายบนตัว ปลาเพอคูล่าจะมีสีดำบนลำตัวมากกว่าปลาส้มขาว และแถบสีขาวกลางตัวจะมีหลายลวดลายที่ต่างกัน หนาบ้าง บางบ้าง ซึ่งไม่เหมือนกับปลาส้มขาวที่ลายขาวข้างลำตัว จะมีลายแบบเดียวกัน


ปลาการ์ตูนดำ-ขาว(Black and White Ocellaris Clown)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion ocellaris
ลักษณะทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับปลาการ์ตูนส้มขาว และถือเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่มีการผันแปรของสี โดยส่วนที่เป็นสีส้ม หรือส้มเหลืองถูกแทนที่ด้วยสีดำ
ลัษณะลำตัวมีสีดำ มีแถบสีขาว แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบปลาชนิดนี้ได้ในถิ่นเฉพาะ คือ ทางเหนือของออสเตรเลีย


ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (Sebae anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion sebae
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลัง ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร


ปลาการ์ตูนอานม้า (Saddleback anemonefish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion polymnus
ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว แถบ แถบแรกอยู่ที่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร

ชนิดของปลาทะเลสวยงามที่นิยมเลี้ยง




ปลาตระกูลแดมเซล 
  ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
  แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
  และมีจุดเล็กๆ สีขาว จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว





ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า 
  ( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
  สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด






ไฟร์ฟิช ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
  เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือ
  Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย


ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 )
  ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่ง
  เป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม



ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
  สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยง
  ง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล แก้วเหลือง แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอน
  อาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง



ปลาสิงโต ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่าง
  กันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก

ปลาการ์ตูน ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง
  ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ 
  ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลา
  ที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้
  โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น
  ( ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดขึ้นไป )



ปลาตระกูลโกบี้ ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby ,
  โกบี้บิน โกบี้ขาว เป็นต้น


ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 )
   เป็นปลาที่มีหลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับ
  ปลาที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและ
  ถ่ายของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ



ปลาหางนกยูง

ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์ปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง Poecilia reticulate (Peters, 1959) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ  ลำตัวและครีบมีลวดลายและสีสันหลากหลายรูปแบบสดสวยสะดุดตา ครีบหางมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะในปลาเพศผู้  ซึ่งนอกจากจะมีครีบหางที่ยาวเป็นพวง พลิ้วแผ่กว้างสวยงามขณะว่ายน้ำแล้ว ยังมีลักษณะรูปร่างของครีบหางแตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงได้พยายามใช้หลักวิชาการทางด้านพันธุกรรมดำเนินการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นตามความต้องการมาเพาะพันธุ์จนได้ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ที่แปลกใหม่และสวยงามอีกมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะเน้นความสำคัญที่ รูปแบบของครีบหาง ลักษณะลวดลายและสีของลำตัว และ/หรือลวดลายและสีของครีบ เช่น
Blue cobra guppy                    หมายถึง ปลาที่มีสีฟ้าและมีลวดลายบนลำตัวคล้ายหนังงู
Yellow tuxedo guppy             หมายถึง ปลาที่มีสีเหลืองและมีลำตัวส่วนท้ายสีดำ
Full yellow guppy                   หมายถึง ปลาที่มีสีเหลืองทองทั้งตัว
Multicolor platinum guppy   หมายถึง ปลาที่มีหลายสีและมีลำตัวเป็นสีเงินสะท้อนแสง
Snakeskin red tail                    หมายถึง ปลาที่ลำตัวมีลายจุดคล้ายหนังงูและครีบหางมีสีแดง


ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์ปลาหางนกยูงเพศผู้

                ปลาหางนกยูงเพศผู้มีลักษณะ สีสันและลวดลายสวยงามกว่าปลาเพศเมียมาก กล่าวคือจะมีครีบยาวและแผ่กว้างกว่า สีจะเข้มกว่า ลวดลายจะชัดเจนและเข้มสะดุดตากว่า ปลาเพศผู้จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงและได้รับการพัฒนาปรับปรุง เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ตลอดเวลา สายพันธุ์ต่างๆ ของปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ ได้แก่
1. สายพันธุ์โมเสคหรือชิลี (Mosaic/Chili)
- ลำตัวจะมีสีใดก็ได้ แต่ต้องไม่มีลวดลาย อาจมีความเงาแวววาว (แพลททีนั่ม) ได้
- ครีบหางมีลวดลายแบบโมเสค โดยลวดลายจะมีลักษณะเป็นแต้มใหญ่ ครีบหางอาจจะมีสีแดง เหลือง น้ำเงิน หรือสีใดก็ได้
- ครีบหลังควรมีลวดลายและสีที่สอดคล้องกับครีบหาง