วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ปลาทองพันธุ์โคเม็ท

                                                 ปลาทองพันธุ์โคเม็ท



ปลาทองโคเมทเป็นปลาที่คัดสายพันธุ์ได้ที่อเมริกา โดยการพัฒนามาจากปลาทอง
ธรรมดา ได้ปลาที่มีครีบยาวขึ้น โดยเฉพาะหางจะยาวไม่น้อยกว่า 3/4 ของความยาว
ลำตัว เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียวต้องการเนื้อที่สำหรับอยู่
มากกว่าปลาชนิดอื่น จึงเหมาะแก่การเลี้ยงไว้ในบ่อมากกว่าเลี้ยงไว้ในตู้หรืออ่างปลา ในอเมริกานิยมเลี้ยงกันมาก เป็นปลาที่ราคาค่อนข้างแพงในยุโรปเมื่อสิบกว่า
ปีก่อนก็ได้รับความนิยมไม่น้อย มาช่วงระยะหลังนี้ออกจะไปซาไปแต่สำหรับบ้าน
เรามีคนเลี้ยงกันน้อยอาจเป็นด้วยความรูปร่างที่คล้ายปลาคาร์พคนจึงหันมาเลี้ยง
ปลาคาร์พ ตามกระแสนิยมมากกว่า แต่ถ้าต้องการปลาทองที่มีความปราดเปรียว และอ่อนช้อยอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาทองโคเมทน่าจะเป็นคำตอบที่ดี
รูปร่างลักษณะของปลาทองโคเมทที่ได้สัดส่วนมาตรฐานสากล
ลำตัวด้านกว้างควรอยู่ระหว่าง 3/7 ถึง 3/8 เท่าของความยาว
ครีบอกและครีบท้องจะต้องเป็นครีบคู่ แต่ครีบหลังและครีบทวารจะต้องเป็นครีบเดี่ยว
ครีบหางจะต้องยาวไม่น้อยกว่า 3/4 ลำตัว
ปลายครีบทุกครีบจะมีลักษณะแหลม 


สีมีทั้งสีเดียวกันตลอดทั้งตัวหรือเป็นลายแถบสลับสีระหว่าง สีส้ม ขาวเงิน เหลือง ถ้า
เป็นชนิดห้าสี สีพื้นของลำตัวจะต้องเป็นสีน้ำเงินและมีไม่น้อยกว่า 25 %
ทั้งหมด โดยแถบสีต่างๆ ได้แก่ สีม่วง แดง ส้ม เหลือง น้ำตาล โดยมีลายแต้มจุดเป็น
สีดำปกติปลาทองโคเมทเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องเอาใจใส่มากเหมือนปลาทอง
สายพันธุ์
อื่นๆแต่ถ้าเลี้ยงไว้ในบ่อกลางแดดจะช่วยให้ปลามีสีสดสวยยิ่งขึ้นแต่ก็ควรมีร่มไว้ให้
ปลาหลบแดดบ้าง โดยทั่วไปปลาทองโคเมทจะมีอายุระหว่าง 5-10 ปี
6 สายพันธุ์ปลาทองยอดฮิต (โลกสัตว์เลี้ยง)

          ทราบไหมว่าปัจจุบันสายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงมีด้วยกันกี่สายพันธุ์ และแต่ละลายพันธุ์มีเอกลักษณ์จุดเด่นเฉพาะตัวอย่างไรบ้าง ขอเฉลยเลยละกัน สายพันธุ์ปลาทองที่มีความนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 6 สายพันธุ์ แต่โปรดเข้าใจความหมายของคำว่ายอดนิยมกันก่อนนะว่าผู้เขียนหมายถึง ปลาทองที่คนทั่ว ๆ ไปนิยมซื้อไปเลี้ยง ไม่ใช่สายพันธุ์ที่บรรดานักนิยมปลาทองมืออาชีพนิยมเลี้ยงเพื่อการประกวดประชันขันแข่งกันเป็นสายพันธุ์ปลาทองที่หากเราไปเดินตามตลาดปลาสวยงาม หรือ ร้านขายปลาสวยงาม ก็มักจะพบเห็นกันเป็นประจำ ซึ่ง 6 สายพันธุ์ที่ว่า ได้แก่...


ปลาทองฮอลันดา
ปลาทองฮอลันดา

ปลาทองฮอลันดา
ปลาทองฮอลันดา

 1. ฮอลันดาปักกิ่ง

          เป็นปลาทองที่มีขนาดลำตัวเล็ก ตัวกลมสั้นป้อม หลังยกสูงเหมือนหลังอูฐ หัววุ้นที่ขึ้นจะเป็นวุ้นที่ละเอียดเม็ดเล็กๆ มีสัดส่วนวุ้นแบ่งเป็นวุ้นเคี้ยว ซึ่งจะอยู่บริเวณมุมปากของปลา ซึ่งจะมองแล้วคล้ายวงช้าง ทำให้มองดูปลาแล้ว เหมือนแก้มยุ้ย ช่วงลำตัวจะกลมเหมือนลูกกอล์ฟ ช่วงท้องจะใหญ่กลมมาก ใบหางของเจ้าปักกิ่งนั้น ใบหางบนยกสูง 40-60 องศา และใบหางล่างกดลง 50-70 องศา เนื่องจากปักกิ่ง มีสัดส่วนที่กลมเพราะฉะนั้นใบหางปลาจะมีการสมดุล กับ body สันหลังที่อยู่ส่วนบนของลำตัวจะยกสูงโค้งจรดโคนหางกระโดงหลังจะตั้งตรงเหมือนกระโดงเรือ ส่วนเกล็ดจะเป็นเกล็ดที่มีขนาดเล็กละเอียดแน่น และที่สำคัญจะต้องยืนน้ำตัวตั้งตรงกับพื้นน้ำ ครีบทวารเหยียดตรง

 2. ฮอลันดายักษ์

          ลักษณะลำตัวใหญ่ ช่วงตัวยาวหนาใหญ่ ลักษณะวุ้นที่ขึ้นค่อนข้างเป็นลักษณะเรียบไม่ฟูมาก จะเป็นลักษณะกระชับ วุ้นจะขึ้นไม่มากจนขนาดปิดตา แต่จุดสำคัญวุ้นด้านแก้มปลาฮอลันดายักษ์นั้นจะเรียบ โครงสร้างของครีบจะมีแก่นกระดูก เช่น กระโดง ครีบหาง เป็นลักษณะแก่นแข็งเส้นใหญ่ บริเวณใบหางจะมีความหนาดูแล้วมีพลังเมื่อมีการว่ายน้ำ ลักษณะที่ดีของฮอลันดายักษ์จะต้องมีขนาดใหญ่ ลำตัวใหญ่ ปากกว้างวุ้นขึ้นเหมือนมงกุฎสวยใส่ที่หัว เกล็ดจะมีขนาดใหญ่ ช่วงระย่ะหางของเกล็ดจะไม่ถี่มากจะมีช่วงกว้างพอสมควร ซึ่งเมื่อใช้มือสัมผัสก็จะรู้สึกของความนูนของเกล็ด

 3. สิงห์ญี่ปุ่น




          ก่อนอื่นเรามาพูดถึงเรื่องของเกล็ดปลากันก่อน เนื่องจากปลาสิงห์ญี่ปุ่นจะมีลักษณะของเกล็ดที่แตกต่างมาก จะมีผิวที่เรียบเนียนเงาเหมือนกระจกเงาและเรียบมาก เมื่อสัมผัสกับแสงแดดจะเป็นเงาสะท้อนออกมา หัวปลามีขนาดเล็กมีวุ้นที่เป็นลักษณะเด่นคือ มีวุ้นยื่นออกมาบริเวณปากมองแล้วคล้ายงวงช้าง วุ้นส่วนกระหม่อมปลาจะแบ่งเป็นสัดส่วนเหมือนกล้ามหน้าท้องของคน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 6 ก้อน หรือ 8 ก้อน เป็นลูกๆ หลังโค้งสูงเป็นครึ่งวงกลม ความหนาช่วงหัวกับลำตัวจะมีขนาดเท่ากัน สันหลังโค้งจรดใบทางชิดกันพอดี ทำมุม 60-80 องศา ช่วงข้อหางจะคลุมครีบทวารพอดี


 4. สิงห์ลูกผสม (สิงห์จีน)




          เป็นปลาที่มีความนิยมมากในหมู่เด็กๆ เนื่องจากมีวุ้นที่ฟูฟ่องออกมาจำนวนมากขนาดปิดตา เป็นวุ้นก้อนใหญ่แบบหยาบไม่ละเอียดมากนัก ความน่ารักจะอยู่ที่หน้าตากลมวุ้นเยอะมาก ลำตัวจะอ้วนมากสันหลังจะไม่โค้งเหมือนครึ่งวงกลม แต่มีช่วงตัวที่ยาวกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เกล็ดจะเป็นลักษณะหยาบไม่แววใสมีเยื่อหุ้มเกล็ดบางๆ ปลาบางตัวจะมีหลังยาวเหมือนกระดานด้วยซ้ำ

 5. สิงห์ดำ (สิงห์สยาม)




          จะมีลักษณะคล้ายสิงห์วุ้นลูกผสม แต่ลำตัวจะมีสีดำวุ้นก็จะดำด้วย ส่วนช่วงท้องของปลาสิงห์ดำจะมีสีทองออกเทาหรือดำสนิทก็ได้ ซึ่งปลาชนิดนี้จะต้องมีวุ้นขึ้นตกจนขนาดมิดตา ผิวหนังของสิงห์ดำจะมีเยื่อบางๆ ปกคลุมมีสีดำ เมื่อเกิดรอยแผลสักเล็กน้อยก็จะเห็นได้เด่นชัดขึ้นหลังมีความโค้งสวย ซึ่งมีความโค้งเทียบเท่ากับสิงห์ญี่ปุ่น แต่ความหนาลำตัวจะไม่ค่อยหนามากนักในตอนเล็ก แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ตามลำดับ ซึ่งสิงห์ดำนั้นจะมีส่วนที่ดำทั้งตัวตั้งแต่ครีบว่าย, ครีบอก, ครีบหาง, เหงือกปลา, วุ้นและผิวเมือกปลาจะมีสีดำทั้งหมด

 6. ริวกิ้น


ปลาทองริวกิ้น

          มีตัวที่กลมเหมือนลูกบอลและมีกระโดงที่สูงเหมือนเสากระโดงเรือแก่นกระดูก ครีบกระโด่งจะใหญ่และแข็งมาก ช่วงหัวปลาริวกิ้นจะมีขนาดเล็กเหมือนหน้าหนูเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว จะมีหลังที่เหมือนอูฐ (โหนกสูง) จะหักรับกับช่วงหัวพอดีซึ่งส่วนต่างๆ ของปลาริวกิ้นนี้จะคล้ายกับฮอลันดาปักกิ่งแทบทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียวคือ ปลาประเภทนี้จะไม่มีหัววุ้น ลักษณะที่สวยก็คือตัวจะต้องกลมยืนน้ำต้องตั้งตรงอยู่แนวขนานกับระดับน้ำ และโหนกจะต้องสูงหักงุ้มและสันโหนกจะต้องโค้งได้รูปเป็นครึ่งวงกลมจรดปลายหางปลาพอดี ใบหางล่างจะต้องคลุมครีบทวารพอดี

          นี่แหละคือ 6 สายพันธุ์ปลาทองยอดนิยมในยุคนี้ คงพอจะทำให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะสายพันธุ์ของปลาทองมากขึ้น และหวังว่าจะเป็นข้อมูลในการช่วยให้ท่านผู้อ่านนักรักปลาทองตัดสินใจเลือกสายพันธุ์ปลาทองที่ถูกใจมาเลี้ยงได้อย่างมีความสุข
















ปลาทองพันธุ์สิงห์ เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะสิงห์ญี่ปุ่น เป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาภายในประเทศไทย มีลำตัวที่อ้วนหนา ดูบึกบึน แข็งแรง ไม่มีครีบหลัง ดูแล้วคล้ายกับรันชูหรือสิงห์จีนมาก แต่สิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัวที่เล็กกว่า ไม่มีวุ้นบนหัวหรือมีแต่ก็น้อยกว่า ลำตัวสั้น หลังโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่า ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยงามนั้น ต้องมีส่วนหลังที่โค้งมนเป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนไข่ผ่าซีก ดูจากด้านข้างแล้วลำตัวปลาจะต้องกว้าง หัวไม่ทิ่มหรือต่ำลงไป การว่ายน้ำต้องทำได้อย่างสมดุลสง่างาม เหมาะแก่การเลี้ยงในตู้กระจก หรือ ไซด์วิว (Side View)
ปลาทองสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead) เป็นปลาทองที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นในประเทศไทย โดยการนำเอาจุดเด่นของปลาทองสิงห์จีน และปลาทองสิงห์ญี่ปุ่น มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นเพาะพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก และลูกปลาทองที่คัดแล้วมีความสวยงามเหมือนพ่อแม่ปลาจะมีน้อยมาก ทำให้ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมีราคาสูง การนำปลาทองสิงห์จีนมาผสมข้ามพันธุ์กัน ทำให้ได้ลูกปลาทองที่ทรงสวยงามเพิ่มมากขึ้น ปลาทองสิงห์ลูกผสมจะมีวุ้นบนหัวน้อยกว่าปลาทองสิงห์จีนเล็กน้อย แต่หลังจะโค้งมากกว่าจนเกือบใกล้เคียงปลาทองสิงห์ญี่ปุ่น
สิงห์ดำตามิดหรือสิงห์สยาม (Black pearl, Black siam) เป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยม จะมีลักษณะเด่นที่สีดำสนิททั้งตัว วุ้นมีขนาดใหญ่จนปิดมิดลูกตา ลักษณะส่วนอื่นโดยทั่วไปก็คล้ายกับสายพันธุ์หัวสิงห์ คือ ครีบทุกครีบสั้น ไม่มีครีบหลัง โคนหางใหญ่และแข็งแรง

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

เชื่อว่าปลาทองเป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง[2] โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่นเรียก "ฟุนะ" (鮒; フナ)[3] และชาวญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน[2] เมืองแรก คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว หรือหลายสีในตัวเดียว ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ มีอายุขัย 20-30 ปี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในทวีปยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17[4] และถูกนำไปเผยแพร่ในทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-1489[2]
ปัจจุบันประเทศจีน, ฮ่องกงสิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด[2] สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง แลเชื่อว่าปลาทองเป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง[2] โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่นเรียก "ฟุนะ" (鮒; フナ)[3] และชาวญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน[2] เมืองแรก คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว หรือหลายสีในตัวเดียว ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ มีอายุขัย 20-30 ปี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในทวีปยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17[4] และถูกนำไปเผยแพร่ในทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-1489[2]